515 โครงการก่อสร้างทั่วกรุง จี้รับเหมาเข้มลดฝุ่นไซต์งาน

515 โครงการก่อสร้างทั่วกรุง จี้รับเหมาเข้มลดฝุ่นไซต์งาน

วสท.จี้สมาชิกเข้มมาตรการป้องกันฝุ่นไซต์งานก่อสร้าง ขณะนักวิจัยตลาดอสังหาฯ เผย 515 โครงการกำลังก่อสร้างทั่วกรุง ผสมโรงอีก 6 รถไฟฟ้า ด้าน “ผอ.ผังเมือง” จ่อนำประเด็นสิ่งแวดล้อมผนวกปรับปรุงพ.ร.บ.ผังเมืองกทม.ในขณะนี้

การก่อสร้างโครงการที่อยู่อาศัย สำนักงานพาณิชยกรรม รวมถึงรถไฟฟ้า ถือเป็นสาเหตุหนึ่งในการก่อฝุ่นละอองในอากาศ หากไม่ดำเนินการก่อสร้างอย่างรัดกุม ซึ่งล่าสุดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังคุมเข้มมาตรการต่างๆเพื่อลดปัญหานี้

แต่ถ้าพิจารณาจากจำนวนโครงการที่อยู่อาศัยทั้งหมดที่กำลังก่อสร้างในกรุงเทพฯและปริมณฑลประมาณ 63% เป็นโครงการบ้านจัดสรร ซึ่งจำนวนโครงการดังกล่าวนี้จะยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปีนี้และอนาคต เพราะผู้ประกอบการจะยังคงเปิดขายโครงการใหม่ต่อเนื่อง

นอกจากนี้ในกรุงเทพฯยังมีโครงการรูปแบบอื่นๆ อีกทั้งอาคารสำนักงาน โครงการมิกซ์-ยูสขนาดใหญ่อีกหลายโครงการที่กระจายอยู่ในหลายพื้นที่ และที่สร้างปัญหาทั้งในเรื่องของการจราจรและฝุ่นละอองขนาดเล็กคือ การก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าต่างๆ จำนวน 6 เส้นทางที่กำลังก่อสร้างอยู่ คือ

เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ – ท่าพระ และหัวลำโพง – บางแค) ที่แม้ว่าโครงสร้างจะแล้วเสร็จแต่พื้นผิวถนนด้านล่างตลอดเส้นทางยังไม่ได้รับการปรับปรุงให้อยู่ในสภาพดี ,2. เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวตอนเหนือ (หมอชิต – คูคต) ,3. เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว – สำโรง) ,4. เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ – มีนบุรี) ,5. เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย – มีนบุรี)และ 6. เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีทอง (กรุงธนบุรี – คลองสาน)

อย่างไรก็ตามพ.ร.บ.ผังเมืองกทม.ที่กำลังอยู่ระหว่างแก้ไขร่างกฎหมาย อาจจะต้องปรับปรุงแก้ไขเพิ่มให้รัดกุม โดยระบุรายละเอียดที่การอนุมัติโครงการก่อสร้าง หรือกิจการ โดยพิจารณาประเด็นมลพิษเข้ามาเกี่ยวข้อง

ส่วนกรณีการเกิดวิกฤติฝุ่นละอองขนาดเล็ก วสท.ได้แจ้งให้สมาชิกเข้มงวดกับมาตรการต่างๆ มากขึ้น เช่นวัสดุซีเมนต์ที่ปัจจุบันหลายโครงการไม่อนุญาตให้ใช้ซีเมนต์ถุงเพราะจะเกิดผงฝุ่นขณะฉีด อีกทั้งระหว่างการทำงานจะต้องจัดการขยะในไซต์ก่อสร้าง พรมน้ำตามเพื่อไม่ให้มีฝุ่น

การทำสัญญาก่อสร้างกับผู้รับเหมา หากเลื่อนระยะเวลา จะกระทบกันเป็นลูกโซ่ทั้งผู้รับเหมาที่เจรจากำหนดราคาวัสดุก่อสร้าง และกำหนดระยะเวลาจ่ายเงินหรือเครดิตเทอมกับคู่ค้าไว้ชัดเจน รวมถึงจะมีผลต่อการส่งมอบที่อยู่อาศัยแก่ลูกค้า

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ

5 กุมภาพันธ์ 2562